แนวทางการบริหารงบประมาณ คณะครุศาสตร์

ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 18/04/2022 เวลา 00:56 น.



 

แนวทางการบริหารงบประมาณ สำหรับผู้รับผิดชอบโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
พร้อมระบบการให้คำปรึกษาผ่านเครือข่ายออนไลน์ เป็นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น มีความถูกต้อง และรวดเร็ว
ต่อการบริหารงบประมาณของบุคลากรภายในคณะครุศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานในการจัดทำโครงการที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งมีการนำข้อมูลที่จำเป็นมาผ่านระบบการให้คำปรึกษาผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจำแนกหัวข้อได้ ดังนี้

  • ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579
  • ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโครงการยุทธศาสตร์
  • การขออนุมัติโครงการและข้อควรระวังในการดำเนินงานโครงการ
  • การจำแนกหมวดรายจ่ายสำหรับดำเนินกิจกรรมโครงการ
  • การใช้จ่ายงบประมาณโครงการจำแนกหมวดรายจ่ายสำหรับดำเนินกิจกรรมโครงการ
  • หมวดค่าตอบแทน
  • หมวดค่าใช้สอย
  • หมวดค่าวัสดุ
  • กฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์
  • แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ระบุว่าให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชนมีส่วนร่วมในการจัดการการบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู และมาตรา 8 ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 ดังต่อไปนี้

(1) แสวงหาความจริงเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล
(2) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การผลิตบัณฑิตดังกล่าวจะต้องให้มีจำนวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิต บัณฑิตของประเทศ
(3) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่าความสำนึกและความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
(4) เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและนักการเมือง ท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตยคุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
(5) เสริมสร้างความเขhมแข็งของวิชาชีพครูผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง (6)ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหวางมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
(7) ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
(8) ศึกษาวิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏจึงได้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยจัดทำยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี ขึ้น โดยต่อมาได้มีการทบทวนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 โดยการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่ผลิต บัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ มีสมรรถนะและเป็นสถาบันหลักที่บูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงให้ประเทศ โดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่

1. การพัฒนาท้องถิ่นสร้างสรรค์ คุณภาพท้องถิ่นและสังคมอย่างยั่งยืนขับเคลื่อน คุณภาพการวิจัย การเรียนการสอน และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม
2. การผลิตและพัฒนาครู พัฒนาคุณภาพการผลิตและพัฒนาครูที่ได้มาตรฐานวิชาชีพ และมีจิตวิญญาณความเป็นครูที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
3. การยกระดับคุณภาพการศึกษา คุณภาพการศึกษา คุณภาพอาจารย์คุณภาพบัณฑิต การจัดการเรียนการรู้ สำหรับศตวรรษที่ 21
4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ความรับผิดชอบ ระบบฐานข้อมูล การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ และสร้างธรรมาภิบาล

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ให้เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำรับใช้สังคมของภาคตะวันออก เพื่อสร้างนวัตกรรมตามศาสตร์พระราชา” โดยมหาวิทยาลัยได้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเป็นพื้นฐานในการพัฒนายุทธศาสตร์ บนพื้นฐานศักยภาพตามบริบทของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ดำเนินนโยบายการทำงานร่วมกับชุมชน สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในท้องถิ่น โดยการร่วมมือกำหนดประเด็นการแก้ไขปัญหา ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)

การดำเนินงานโครงการตามยุทธศาสตร์ราชภัฏพัฒนาท้องถิ่น จะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยยึดเอาประโยชน์ของท้องถิ่น ชุมชน ในการสร้างบัณฑิตจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

 

ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโครงการยุทธศาสตร์

 

การขออนุมัติโครงการและข้อควรระวังในการดำเนินงานโครงการ

  • การขอยืมเงินทดรองราชการ : แนบโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้วและแบบฟอร์มขอยืมเงินทดรองราชการอย่างน้อย 3 วันทำการ ทั้งนี้ควรนับ 3 วันทำการเมื่อเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้วจากหน่วยงานและเดินทางไปถึงยังหน่วยงานคลัง
  • หน่วยงานคลังจ่ายเช็คเงินยืมในวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์
  • การขออนุมัติโครงการใช้แบบฟอร์มเสนอโครงการของมหาวิทยาลัย (ภาคผนวก) พร้อมบันทึกข้อความเสนออนุมัติตามลำดับ
  • ผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการ พิจารณาจากวงเงิน ดังนี้
    – ขออนุมัติงบประมาณไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท) คณบดีเป็นผู้ลงนามอนุมัติ
    – ขออนุมัติงบประมาณมากกว่า 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท) เสนอต่อรองอธิการบดีเป็นผู้อนุมัติ
  • ระยะเวลาการขออนุมัติโครงการ : ควรเผื่อระยะเวลาการดำเนินการทางเอกสาร และคำนึงถึงวันหยุดต่างๆ โดยควรเสนออนุมัติก่อนถึงวันกำหนดดำเนินโครงการไว้เนิ่นๆ การขออนุญาตดำเนินโครงการที่กระชั้นชิดเกินไปอาจทำให้ไม่สามารถดำเนินการโครงการได้ตามที่กำหนด ดังนั้นทุกการขออนุมัติ ควรสำรองเวลาสำหรับการเดินทางของเอกสารตามลำดับ ตลอดจนวันหยุดต่างๆ จึงควรวางแผนงานและสำรองเวลาไว้อย่างน้อย 3 สัปดาห์
  • ขั้นตอนอื่นๆ เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ : การเผื่อเวลาในการดำเนินการเอกสารมีความสำคัญ เพราะเมื่ออนุมัติโครงการแล้วผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องนำมาแนบสำหรับ
    1. การขอนุมัติใช้รถยนต์ (ถ้ามี)
    2. การขออนุญาตผู้ปกครอง (กรณีมีนักศึกษาร่วมโครงการ)
  • อาจารย์ที่ลงปฏิบัติงานในพื้นที่ : ถ้าในวันนั้นมีตารางสอนจะต้องยื่นเรื่องขอสอนชดเชยและได้รับอนุมัติจากรองอธิการบดีวิชาการไว้ก่อน ซึ่งหากมีการขอเบิกค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานโครงการจะต้องแนบตารางสอนพร้อมทั้งเอกสารการขอสอนชดเชย กรณีที่ชั่วโมงมีสอน
  • การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะ : จะต้องทำคำสั่งเดินทางไปราชการ และได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะได้
  • การใช้รถยนต์ส่วนตัว : จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการ (อธิการบดี หรือรองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมาย) และจะต้องได้รับอนุมัติก่อนการเดินทาง โดยเบิกเหมาจ่าย ก.ม.ละ 4 บาท (ค่าทางด่วนไม่สามารถเบิกได้)

 

การจำแนกหมวดรายจ่ายสำหรับดำเนินกิจกรรมโครงการ

โครงการงบยุทธศาสตร์ที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ จัดเป็นงบดำเนินงาน ซึ่งหมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่าย ที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว โดยในที่นี้จะกล่าวเฉพาะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการงบยุทธศาสตร์เท่านั้น (รายละเอียดรายการอื่นๆ ผู้สนใจสามารถดูได้จาก หลักเกณฑ์ และอัตราค่าใช้จ่ายประกอบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงบประมาณ)

 

หมวดค่าใช้จ่าย ความหมาย ตัวอย่าง
ค่าตอบแทน เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานให้ทางราชการตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ค่าตอบแทนหรือสมมนาคุณวิทยากร
ค่าตอบแทนนักศึกษาที่ช่วยปฏิบัติราการ
ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
(อาจารย์และเจ้าหน้าที่)
ค่าใช้สอย รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ การรับรอง และงานพิธีการ หรือการจัด งานต่างๆ ค่าอาหาร
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ได้แก่ ค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าที่พัก ค่าพาหนะ (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง) ค่าอื่นๆ (ค่าผ่านทางพิเศษ)
ค่าเช่าต่างๆ เช่น ห้องประชุม เครื่องเสียง เครื่องฉาย
ค่าจ้างวิเคราะห์และสรุปข้อมูล
ค่าจ้างถ่ายทำและตัดต่อวีดิโอ
ค่าจ้างถ่ายเอกสารและเย็บเล่ม
ค่าจ้างพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์
ค่าจ้างทำป้าย
ค่าใช้สอยอื่น ๆ
ค่าวัสดุ รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของที่มีลักษณะโดยสภาพไม่คงทนถาวร หรือตามปกติมีอายุการใช้งานไม่ยืนนาน สิ้นเปลือง
หมดไป หรือเปลี่ยนสภาพไปในระยะเวลาอันสั้น แต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000.-บาท
รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน และจะต้องไม่ใช่ครุภัณฑ์ตามระเบียบพัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
ค่าเวชภัณฑ์ยา
ค่าเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย เครื่องวัดอุณหภูมิ
ค่าวัสดุอื่น ๆ

 

หมวดค่าตอบแทน

 

กิจกรรม   รายละเอียด

1. ลักษณะกิจกรรม

 

  • การบรรยาย เบิกวิทยากร 1 คน
  • การอภิปราย/สัมมนาเป็นคณะ วิทยากรไม่เกิน 5 คน (ใน 5 คน จะนับรวมผู้ทำหน้าที่ดำเนินการ เช่น ผู้นำสัมมนา ผู้นำเสวนา เป็น 1 ในจำนวนวิทยากรด้วย ทั้งนี้ไม่นับรวมพิธีกร)
  • การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ วิทยากรกลุ่มละไม่เกิน 2 คน ไม่ได้จำกัดจำนวนกลุ่ม (ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของจำนวนผู้เข้าอบรม)

2. อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร

 

  • บุคลากรของรัฐ ไม่เกินชั่วโมงละ 600 บาท/ชั่วโมง (โปรดดูเชิงอรรถด้านล่าง)
  • ไม่ใช่บุคลากรของรัฐ ไม่เกินชั่วโมงละ 1,200 บาท/ชั่วโมง
3. ค่าตอบแทนนักศึกษาที่ช่วยปฏิบัติราการ
  • การเบิกจ่าย การจ้างนักศึกษาช่วยงาน ปฏิบัติราชการ เบิกจ่ายค่าตอบแทนต้องปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่รวมเวลาหยุดพัก ค่าตอบแทนในอัตราไม่เกินวันละ 300 บาทต่อคน ในกรณีปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน ได้รับค่าตอบแทนในอัตราไม่เกิน 150 บาทต่อคน
4. ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
(อาจารย์และเจ้าหน้าที่)
  • สำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ในการเตรียมงานก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ เช่น การจัดเตรียมสถานที่ เป็นต้น ในวันทำการเบิกได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 50 บาท – การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ เบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท

 

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการ เอกสารประกอบการเบิกจ่าย

1. หนังสือเชิญวิทยากร กรณีที่วิทยากรเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย หรือบันทึกข้อความขอเชิญเป็นวิทยากร กรณีที่เชิญบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเป็นวิทยากร

ระดับการอนุมัติ : คณบดี

2. บันทึกข้อความขออนุมัติเชิญบุคคลภายนอกหรือบุคคลภายในเป็นวิทยากร

ระดับการอนุมัติ : อธิการบดี/รองอธิการบดี

3. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ (ถ้ามี)

4. บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการ และเอกสารโครงการพร้อมกำหนดการ

1. (สำเนา) หนังสือเชิญวิทยากร กรณีที่วิทยากรเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย พร้อมกำหนดการ หรือบันทึกข้อความขอเชิญเป็นวิทยากร กรณีที่เชิญบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเป็นวิทยากร

การรับรองสำเนา รับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับ โดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ

ข้อควรระวัง หนังสือเชิญวิทยากร ระบุวันที่เชิญวิทยากรมาบรรยาย ต้องตรงกับวันที่จัดโครงการ

2. (ฉบับจริง) บันทึกขออนุมัติเชิญบุคคลภายนอกหรือบุคคลภายในเป็นวิทยากร และตารางการบรรยาย

3. (ฉบับจริง) แบบใบสำคัญรับเงิน ค่าตอบแทนวิทยากร ลงชื่อผู้จ่ายโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน

ข้อควรระวัง บัตรประจำตัวต้องไม่หมดอายุ

ข้อควรระวัง กรณีที่เชิญบุคคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นวิทยากร ต้องแนบตารางสอน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง การเบิกค่าตอบแทนวิทยากรสำหรับบุคคลากรมหาวิทยาลัย จะเบิกได้ได้เมื่อในช่วงทำกิจกรรมโครงการ ไม่ตรงกับคาบสอนตามตาราง) กรณีที่มีตารางสอนต้องขออนุญาตสอนชดเชย และแนบหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย

ระดับการอนุมัติ : รองอธิการบดี

4. (สำเนา) สัญญาการยืมเงิน (กรณีที่ยืมเงินทดรองราชการ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

5. (ควรมี) แบบตอบรับวิทยากร

6. (สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ (รายละเอียดชื่อนามสกุล/ ระยะเวลาการทำกิจกรรม/ ชื่อกิจกรรม) ทุกแห่งต้องตรงกันทั้งในกำหนดการที่แนบกับหนังสือเชิญและกำหนดการที่แนบกับเอกสารโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ

7. (สำเนา, ถ้ามี) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ รับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ

8. (สำเนา) (ถ้ามี) บันทึกข้อความอนุมัติปรับกิจกรรมโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ

  • ดูการเทียบตำแหน่งได้ใน ภาคผนวก 1  ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555
  • การเบิกจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรกรณีที่เป็นประชาชนทั่วไปจะเบิกในอัตรา 600 บาทต่อชั่วโมง พิจารณาจากคุณวุฒิประกอบ หากมีความเชี่ยวชาญชำนาญพิเศษสามารถเบิกจ่ายในอัตรา 1,200 ต่อชั่วโมง โดยจะต้องระบุรายละเอียดที่ชัดเจนใน บันทึกขออนุมัติเชิญบุคคลภายนอกหรือบุคคลภายในเป็นวิทยากร และตารางการบรรยาย สำหรับการเชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเบิกจ่ายในอัตรา 600 บาทต่อชั่วโมง อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน เบิกจ่ายในอัตรา 1,200 ต่อชั่วโมง

 

เอกสารประกอบการเบิกค่าตอบแทน กรณีการอบรมสัมมนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
  1. สำเนาหลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคารค่าสมนาคุณวิทยากรรายบุคคล (สามารถโอนเงินที่ธนาคารโดยแนบหลักฐานใบ pay in หรือโอนโดยผ่าน application ของธนาคาร ด้วยบัญชีชื่อผู้ยืมเงินทดรองราชการเท่านั้น)
  2. ภาพการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (เห็นใบหน้าผู้เป็นวิทยากรและผู้เข้าร่วมการอบรม ถ้ามีวิทยากรหลายคนควรระบุชื่อประกอบภาพผู้เป็นวิทยากรในภาพแนบเบิกด้วย)

 

 

หมวดค่าใช้สอย

1. ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม

กิจกรรม/อัตรา รายละเอียด

1. ค่าอาหาร

 

  • จัดภายในมหาวิทยาลัย 150  บาท/คน/มื้อ
  • จัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในหน่วยงานราชการ) 150 บาท/คน/มื้อ
  • จัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในสถานที่เอกชน เช่น โรงแรม) 250 บาท/คน/มื้อ

2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

 

  • จัดภายในมหาวิทยาลัย 30 บาท/คน/มื้อ
  • จัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในหน่วยงานราชการ) 30 บาท/คน/มื้อ
  • จัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในสถานที่เอกชน เช่น โรงแรม) 50 บาท/คน/มื้อ

 

ข้อควรระวัง เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
  • ถ้าจัดพักในโรงแรมค่าอาหารเช้าจะต้องคิดรวมอยู่ในค่าห้องของทางโรงแรม ดังนั้นจึงเบิกค่าอาหารเช้าไม่ได้
  • กรณีที่มีการเดินทางไปยังสถานที่จัดกิจกรรม เมื่ออยู่ระหว่างเดินทาง คือยังไม่มีการเริ่มกิจกรรมการอบรมสัมมนาจะไม่สามารถเบิกค่าอาหารมื้อก่อนหน้าที่จะมีการทำกิจกรรมได้ เช่น เดินทางไปถึงสถานที่จัดกิจกรรมเวลา 11.30 น. ใกล้เวลาอาหารกลางวัน แต่กิจกรรมจะเริ่มในเวลา 13.00 น. ดังนั้นก่อนหน้าเวลา 13.00 น. คือเวลาเริ่มทำกิจกรรมจริง จะไม่สามารถเบิกค่าอาหารและอาหารว่างได้
  • อาหารเย็นจัดได้ในกรณีที่มีกิจกรรมการอบรมสัมมนาที่มีกิจกรรมในช่วงบ่ายไปจนถึงระยะเวลาอาหารเย็น หรือเลยกว่านั้น
  • กิจกรรมในช่วงค่ำไม่สามารถเบิกค่าอาหารและอาหารว่างได้
  1. (ฉบับจริง) ใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
  2. (ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงินค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม หรือ บิลเงินสด (กรณีบิลเงินสดต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับเงิน)
  3. (สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ
  4. (สำเนา) สัญญาการยืมเงิน (กรณีที่ยืมเงินทดรองราชการ) พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ

 

2. ค่าที่พัก

ประเภท อัตราการเบิกจ่าย

บุคคลากรของมหาวิทยาลัย และบุคลากรของรัฐ

 

  • หมายถึง บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และบุคลากรของรัฐทุกสังกัด ทั้งที่เป็นข้าราชการและพนักงาน
  • ไม่เกิน 750 ต่อคน/ต่อคืน
  • จัดพักแยกชายหญิง จำนวน 2 คนต่อห้อง
บุคคลภายนอก และนักศึกษา
  • หมายถึง บุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช่ข้าราชการและพนักงานของรัฐ รวมทั้งนักศึกษาถือเป็นบุคคลภายนอก
  • ไม่เกิน 500 ต่อคน/ต่อคืน
  • จัดพักแยกชายหญิง จำนวน 2 คนต่อห้อง

 

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการ เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
  1. กรณีที่เป็นกิจกรรมที่มีนักศึกษาเดินทางไปด้วยหนังสือขออนุญาตผู้ปกครอง (นักศึกษา) โดยฉีกส่วนท้ายของหนังสือเป็นแบบตอบรับอนุญาตให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะต้องใช้เอกสารส่วนนี้แนบเพื่อขออนุมัติใช้รถยนต์อีกด้วย (เรียงตามลำดับให้ตรงกับใบรายชื่อแนบท้ายบันทึกข้อความขออนุมัติไปราชการ)
  2. แบบขออนุญาตไม่เกิน 7 วัน (นักศึกษา)

  1. (ฉบับจริง) ใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
  2. (ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงินค่าที่พัก
  3. (ฉบับจริง) ใบรายงานการเข้าพัก Folio
  4. (ฉบับจริง) รายงานการเดินทางไปราชการ แบบ8708
  5. (สำเนา) บันทึกข้อความขออนุมัติไปราชการ แนบใบรายชื่อผู้เดินทางไปราชการ หนังสือขออนุญาตผู้ปกครอง (นักศึกษา) แบบขออนุญาตไม่เกิน 7 วัน (นักศึกษา) โดยรายชื่อผู้ที่เดินทางกับรายชื่อในใบรายงานการเข้าพัก Folio ต้องตรงกัน
  6. (สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ
  7. (ถ้ามี) บันทึกข้อความขออนุมัติพักเกินอัตรา กรณีที่พักคนเดียวแต่จ่ายเพิ่ม
  8. (สำเนา) สัญญาการยืมเงิน (กรณีที่ยืมเงินทดรองราชการ) พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ

 

3. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (ไปราชการ) และ ค่าทางด่วน กรณีขอรถของมหาวิทยาลัย

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการ เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
  1. ใบขออนุมัติใช้รถยนต์ แนบคำสั่งเดินทางไปราชการ และใบขออนุญาตผู้ปกครอง รายชื่อผู้เดินทางไปราชการ
  2. ดำเนินการขออนุมัติการใช้รถยนต์ของมหาวิทยาลัยในระบบของมหาวิทยาลัย
  1. (ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมัน
  2. (สำเนา) บันทึกข้อความขออนุมัติไปราชการ
  3. (สำเนา) ใบขออนุมัติใช้รถยนต์
  4. (ฉบับจริง) รายชื่อ ผู้เดินทางไปราชการ รายชื่อพนักงานขับรถ
  5. (ฉบับจริง) ใบเสร็จค่าทางด่วน (ค่าผ่านทางพิเศษ)
  6. (สำเนา) สัญญาการยืมเงิน (กรณีที่ยืมเงินทดรองราชการ) เอกสารที่เป็นสำเนาทุกฉบับทุกหน้าให้รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ
  7. (สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการเอกสารขออนุมัติเดินทางไปราชการ

 

4. ค่าเช่าสถานที่จัดฝึกอบรม และค่าจ้างตกแต่งสถานที่

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการ เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
กรณีที่จะยืมเงินค่าเช่า ฎีกาขออนุญาตเช่าสถานที่ ยื่นพร้อมกับการยืมเงิน ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว และทำจัดซื้อจัดจ้าง
  1. (สำเนา) สัญญาใบยืมเงินทดรองราชการ (กรณีที่ยืมเงินทดรองราชการ) เอกสารที่เป็นสำเนาทุกฉบับทุกหน้าให้รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ
  2. (ฉบับจริง) หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย
  3. (ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบส่งมอบงาน(สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ

 

5. ค่าเช่ารถ (รวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการ เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
กรณีที่จะยืมเงินค่าเช่า ฎีกาขออนุญาตเช่าเช่ารถโดยสาร ยื่นพร้อมกับการยืมเงิน ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว และทำจัดซื้อจัดจ้าง
  1. (ฉบับจริง) ใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้
  2. (ฉบับจริง) สัญญาเช่ารถโดยสาร (ติดอากรแสตมป์ 1,000 ละ 1 บาท ของราคาค่าเช่า)
  3. (ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบส่งมอบงาน
  4. (ฉบับจริง) หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย
  5. (สำเนา) ใบอนุญาตขับขี่ พรบ. เอกสารการต่อทะเบียนรถยนต์
  6. (สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับ

 

6. ค่าจ้างวิเคราะห์และสรุปข้อมูล

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการ เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
  1. เอกสารการกำหนดคุณลักษณะ
  1. (ฉบับจริง) ใบส่งของ/บิลเงินสด
  2. (สำเนา) บัตรประชาชนผู้รับจ้าง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  3. (สำเนา) บัญชีธนาคาร พร้อมรับรองบัญชีความเคลื่อนไหวในระยะเวลา 6 เดือน
  4. (ฉบับจริง) แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ
  5. (สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับ

 

 

 

หมวดค่าวัสดุ

ค่าวัสดุ หมายถึง สิ่งของที่จัดเป็นวัสดุแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1) วัสดุคงทน ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะคงทนแต่ตามปกติมีอายุการใช้งานไม่ยืนนาน หรือเมื่อนำไปใช้งานแล้วเกิดความชำรุดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม หรือ ซ่อมแล้วไม่คุ้มค่า
2) วัสดุสิ้นเปลือง ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้วหมดไป
3) วัสดุอุปกรณ์ประกอบและอะไหล่ ได้แก่สิ่งของที่ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบหรืออะไหล่สำหรับ การซ่อมแซมบำรุงรักษา

 

 

ประเภทและอัตราการเบิกจ่าย

รายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อจัดซื้อจัดหา หรือจ้างทำของเพื่อให้ได้มาซึ่งของใช้สิ้นเปลือง ไม่คงทนถาวร
หรือสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรแต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท
รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน

 

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการ เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
  1. (ฉบับจริง) ใบเสนอราคา
  2. (ฉบับจริง) แบบกำหนดคุณลักษณะโดยผู้ใช้วัสดุ เสนอโดยเจ้าหน้าที่พัสดุของหน่วยงาน
  3. บันทึกข้อความขออนุมัติและได้รับอนุมัติโดยผู้มีอำนาจลงนาม และแนบเอกสารโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการของโครงการ
  1. (ฉบับจริง) ใบเสนอราคา
  2. (ฉบับจริง) แบบกำหนดคุณลักษณะ เสนอโดยเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับคำสั่งแต่งตั้ง
  3. (ฉบับจริง) ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน
  4. (สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ
  5. (ฉบับจริง) แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online และแนบสำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

 

 

 

กฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์

 

  1. คู่มือการบริหารงบประมาณ สำหรับผู้รับผิดชอบโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

 

 


สำหรับข้อมูลที่ยังไม่ปรากฏ หากมีข้อสงสัยหรือข้อแนะนำที่เกี่ยวข้อง สามารถพิมพ์ผ่านเฟซบุ๊กด้านล่าง ดังที่ปรากฏ