แนวทางการบริหารงบประมาณ คณะครุศาสตร์



แนวทางการบริหารงบประมาณ สำหรับผู้รับผิดชอบโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
พร้อมระบบการให้คำปรึกษาผ่านเครือข่ายออนไลน์ เป็นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น มีความถูกต้อง และรวดเร็ว
ต่อการบริหารงบประมาณของบุคลากรภายในคณะครุศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานในการจัดทำโครงการที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งมีการนำข้อมูลที่จำเป็นมาผ่านระบบการให้คำปรึกษาผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจำแนกหัวข้อได้ ดังนี้

  • ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579
  • ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโครงการยุทธศาสตร์
  • การขออนุมัติโครงการและข้อควรระวังในการดำเนินงานโครงการ
  • การจำแนกหมวดรายจ่ายสำหรับดำเนินกิจกรรมโครงการ
  • การใช้จ่ายงบประมาณโครงการจำแนกหมวดรายจ่ายสำหรับดำเนินกิจกรรมโครงการ
  • หมวดค่าตอบแทน
  • หมวดค่าใช้สอย
  • หมวดค่าวัสดุ
  • กฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์
  • แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ระบุว่าให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชนมีส่วนร่วมในการจัดการการบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู และมาตรา 8 ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 ดังต่อไปนี้

(1) แสวงหาความจริงเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล
(2) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การผลิตบัณฑิตดังกล่าวจะต้องให้มีจำนวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิต บัณฑิตของประเทศ
(3) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่าความสำนึกและความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
(4) เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและนักการเมือง ท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตยคุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
(5) เสริมสร้างความเขhมแข็งของวิชาชีพครูผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง (6)ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหวางมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
(7) ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
(8) ศึกษาวิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏจึงได้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยจัดทำยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี ขึ้น โดยต่อมาได้มีการทบทวนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 โดยการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่ผลิต บัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ มีสมรรถนะและเป็นสถาบันหลักที่บูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงให้ประเทศ โดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่

1. การพัฒนาท้องถิ่นสร้างสรรค์ คุณภาพท้องถิ่นและสังคมอย่างยั่งยืนขับเคลื่อน คุณภาพการวิจัย การเรียนการสอน และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม
2. การผลิตและพัฒนาครู พัฒนาคุณภาพการผลิตและพัฒนาครูที่ได้มาตรฐานวิชาชีพ และมีจิตวิญญาณความเป็นครูที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
3. การยกระดับคุณภาพการศึกษา คุณภาพการศึกษา คุณภาพอาจารย์คุณภาพบัณฑิต การจัดการเรียนการรู้ สำหรับศตวรรษที่ 21
4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ความรับผิดชอบ ระบบฐานข้อมูล การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ และสร้างธรรมาภิบาล

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ให้เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำรับใช้สังคมของภาคตะวันออก เพื่อสร้างนวัตกรรมตามศาสตร์พระราชา” โดยมหาวิทยาลัยได้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเป็นพื้นฐานในการพัฒนายุทธศาสตร์ บนพื้นฐานศักยภาพตามบริบทของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ดำเนินนโยบายการทำงานร่วมกับชุมชน สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในท้องถิ่น โดยการร่วมมือกำหนดประเด็นการแก้ไขปัญหา ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)

การดำเนินงานโครงการตามยุทธศาสตร์ราชภัฏพัฒนาท้องถิ่น จะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยยึดเอาประโยชน์ของท้องถิ่น ชุมชน ในการสร้างบัณฑิตจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโครงการยุทธศาสตร์

การขออนุมัติโครงการและข้อควรระวังในการดำเนินงานโครงการ

การขอยืมเงินทดรองราชการ
  • การขอยืมเงินทดรองราชการ : แนบโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้วและแบบฟอร์มขอยืมเงินทดรองราชการอย่างน้อย 3 วันทำการ ทั้งนี้ควรนับ 3 วันทำการเมื่อเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้วจากหน่วยงานและเดินทางไปถึงยังหน่วยงานคลัง
  • หน่วยงานคลังจ่ายเช็คเงินยืมในวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์
การขออนุมัติดำเนินโครงการ
  • การขออนุมัติโครงการใช้แบบฟอร์มเสนอโครงการของมหาวิทยาลัย (ภาคผนวก) พร้อมบันทึกข้อความเสนออนุมัติตามลำดับ
  • ผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการ พิจารณาจากวงเงิน ดังนี้
    – ขออนุมัติงบประมาณไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท) คณบดีเป็นผู้ลงนามอนุมัติ
    – ขออนุมัติงบประมาณมากกว่า 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท) เสนอต่อรองอธิการบดีเป็นผู้อนุมัติ
ข้อควรระวังสำคัญ
  • ระยะเวลาการขออนุมัติโครงการ : ควรเผื่อระยะเวลาการดำเนินการทางเอกสาร และคำนึงถึงวันหยุดต่างๆ โดยควรเสนออนุมัติก่อนถึงวันกำหนดดำเนินโครงการไว้เนิ่นๆ การขออนุญาตดำเนินโครงการที่กระชั้นชิดเกินไปอาจทำให้ไม่สามารถดำเนินการโครงการได้ตามที่กำหนด ดังนั้นทุกการขออนุมัติ ควรสำรองเวลาสำหรับการเดินทางของเอกสารตามลำดับ ตลอดจนวันหยุดต่างๆ จึงควรวางแผนงานและสำรองเวลาไว้อย่างน้อย 3 สัปดาห์
  • ขั้นตอนอื่นๆ เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ : การเผื่อเวลาในการดำเนินการเอกสารมีความสำคัญ เพราะเมื่ออนุมัติโครงการแล้วผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องนำมาแนบสำหรับ
    1. การขอนุมัติใช้รถยนต์ (ถ้ามี)
    2. การขออนุญาตผู้ปกครอง (กรณีมีนักศึกษาร่วมโครงการ)
  • อาจารย์ที่ลงปฏิบัติงานในพื้นที่ : ถ้าในวันนั้นมีตารางสอนจะต้องยื่นเรื่องขอสอนชดเชยและได้รับอนุมัติจากรองอธิการบดีวิชาการไว้ก่อน ซึ่งหากมีการขอเบิกค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานโครงการจะต้องแนบตารางสอนพร้อมทั้งเอกสารการขอสอนชดเชย กรณีที่ชั่วโมงมีสอน
  • การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะ : จะต้องทำคำสั่งเดินทางไปราชการ และได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะได้
  • การใช้รถยนต์ส่วนตัว : จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการ (อธิการบดี หรือรองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมาย) และจะต้องได้รับอนุมัติก่อนการเดินทาง โดยเบิกเหมาจ่าย ก.ม.ละ 4 บาท (ค่าทางด่วนไม่สามารถเบิกได้)

การจำแนกหมวดรายจ่ายสำหรับดำเนินกิจกรรมโครงการ

การจำแนกหมวดรายจ่ายสำหรับดำเนินกิจกรรมโครงการ

โครงการงบยุทธศาสตร์ที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ จัดเป็นงบดำเนินงาน ซึ่งหมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่าย ที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว โดยในที่นี้จะกล่าวเฉพาะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการงบยุทธศาสตร์เท่านั้น (รายละเอียดรายการอื่นๆ ผู้สนใจสามารถดูได้จาก หลักเกณฑ์ และอัตราค่าใช้จ่ายประกอบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงบประมาณ)

หมวดค่าใช้จ่ายความหมายตัวอย่าง
ค่าตอบแทนเงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานให้ทางราชการตามที่กระทรวงการคลังกำหนดค่าตอบแทนหรือสมมนาคุณวิทยากร
ค่าตอบแทนนักศึกษาที่ช่วยปฏิบัติราการ
ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
(อาจารย์และเจ้าหน้าที่)
ค่าใช้สอยรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ การรับรอง และงานพิธีการ หรือการจัด งานต่างๆค่าอาหาร
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ได้แก่ ค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าที่พัก ค่าพาหนะ (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง) ค่าอื่นๆ (ค่าผ่านทางพิเศษ)
ค่าเช่าต่างๆ เช่น ห้องประชุม เครื่องเสียง เครื่องฉาย
ค่าจ้างวิเคราะห์และสรุปข้อมูล
ค่าจ้างถ่ายทำและตัดต่อวีดิโอ
ค่าจ้างถ่ายเอกสารและเย็บเล่ม
ค่าจ้างพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์
ค่าจ้างทำป้าย
ค่าใช้สอยอื่น ๆ
ค่าวัสดุรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของที่มีลักษณะโดยสภาพไม่คงทนถาวร หรือตามปกติมีอายุการใช้งานไม่ยืนนาน สิ้นเปลือง
หมดไป หรือเปลี่ยนสภาพไปในระยะเวลาอันสั้น แต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000.-บาท
รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน และจะต้องไม่ใช่ครุภัณฑ์ตามระเบียบพัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
ค่าเวชภัณฑ์ยา
ค่าเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย เครื่องวัดอุณหภูมิ
ค่าวัสดุอื่น ๆ
หมวดค่าตอบแทน
กิจกรรม  รายละเอียด
1. ลักษณะกิจกรรม การบรรยาย เบิกวิทยากร 1 คนการอภิปราย/สัมมนาเป็นคณะ วิทยากรไม่เกิน 5 คน (ใน 5 คน จะนับรวมผู้ทำหน้าที่ดำเนินการ เช่น ผู้นำสัมมนา ผู้นำเสวนา เป็น 1 ในจำนวนวิทยากรด้วย ทั้งนี้ไม่นับรวมพิธีกร)การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ วิทยากรกลุ่มละไม่เกิน 2 คน ไม่ได้จำกัดจำนวนกลุ่ม (ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของจำนวนผู้เข้าอบรม)
2. อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร บุคลากรของรัฐ ไม่เกินชั่วโมงละ 600 บาท/ชั่วโมง (โปรดดูเชิงอรรถด้านล่าง)ไม่ใช่บุคลากรของรัฐ ไม่เกินชั่วโมงละ 1,200 บาท/ชั่วโมง
3. ค่าตอบแทนนักศึกษาที่ช่วยปฏิบัติราการการเบิกจ่าย การจ้างนักศึกษาช่วยงาน ปฏิบัติราชการ เบิกจ่ายค่าตอบแทนต้องปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่รวมเวลาหยุดพัก ค่าตอบแทนในอัตราไม่เกินวันละ 300 บาทต่อคน ในกรณีปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน ได้รับค่าตอบแทนในอัตราไม่เกิน 150 บาทต่อคน
4. ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
(อาจารย์และเจ้าหน้าที่)
สำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ในการเตรียมงานก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ เช่น การจัดเตรียมสถานที่ เป็นต้น ในวันทำการเบิกได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 50 บาท – การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ เบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท
เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
1. หนังสือเชิญวิทยากร กรณีที่วิทยากรเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย หรือบันทึกข้อความขอเชิญเป็นวิทยากร กรณีที่เชิญบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเป็นวิทยากรระดับการอนุมัติ : คณบดี2. บันทึกข้อความขออนุมัติเชิญบุคคลภายนอกหรือบุคคลภายในเป็นวิทยากรระดับการอนุมัติ : อธิการบดี/รองอธิการบดี3. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ (ถ้ามี)4. บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการ และเอกสารโครงการพร้อมกำหนดการ1. (สำเนา) หนังสือเชิญวิทยากร กรณีที่วิทยากรเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย พร้อมกำหนดการ หรือบันทึกข้อความขอเชิญเป็นวิทยากร กรณีที่เชิญบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเป็นวิทยากรการรับรองสำเนา รับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับ โดยผู้ยืมเงินทดรองราชการข้อควรระวัง หนังสือเชิญวิทยากร ระบุวันที่เชิญวิทยากรมาบรรยาย ต้องตรงกับวันที่จัดโครงการ2. (ฉบับจริง) บันทึกขออนุมัติเชิญบุคคลภายนอกหรือบุคคลภายในเป็นวิทยากร และตารางการบรรยาย3. (ฉบับจริง) แบบใบสำคัญรับเงิน ค่าตอบแทนวิทยากร ลงชื่อผู้จ่ายโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงินข้อควรระวัง บัตรประจำตัวต้องไม่หมดอายุข้อควรระวัง กรณีที่เชิญบุคคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นวิทยากร ต้องแนบตารางสอน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง การเบิกค่าตอบแทนวิทยากรสำหรับบุคคลากรมหาวิทยาลัย จะเบิกได้ได้เมื่อในช่วงทำกิจกรรมโครงการ ไม่ตรงกับคาบสอนตามตาราง) กรณีที่มีตารางสอนต้องขออนุญาตสอนชดเชย และแนบหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายระดับการอนุมัติ : รองอธิการบดี4. (สำเนา) สัญญาการยืมเงิน (กรณีที่ยืมเงินทดรองราชการ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง5. (ควรมี) แบบตอบรับวิทยากร6. (สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ (รายละเอียดชื่อนามสกุล/ ระยะเวลาการทำกิจกรรม/ ชื่อกิจกรรม) ทุกแห่งต้องตรงกันทั้งในกำหนดการที่แนบกับหนังสือเชิญและกำหนดการที่แนบกับเอกสารโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ7. (สำเนา, ถ้ามี) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ รับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ8. (สำเนา) (ถ้ามี) บันทึกข้อความอนุมัติปรับกิจกรรมโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ
  • ดูการเทียบตำแหน่งได้ใน ภาคผนวก 1  ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555
  • การเบิกจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรกรณีที่เป็นประชาชนทั่วไปจะเบิกในอัตรา 600 บาทต่อชั่วโมง พิจารณาจากคุณวุฒิประกอบ หากมีความเชี่ยวชาญชำนาญพิเศษสามารถเบิกจ่ายในอัตรา 1,200 ต่อชั่วโมง โดยจะต้องระบุรายละเอียดที่ชัดเจนใน บันทึกขออนุมัติเชิญบุคคลภายนอกหรือบุคคลภายในเป็นวิทยากร และตารางการบรรยาย สำหรับการเชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเบิกจ่ายในอัตรา 600 บาทต่อชั่วโมง อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน เบิกจ่ายในอัตรา 1,200 ต่อชั่วโมง

เอกสารประกอบการเบิกค่าตอบแทน กรณีการอบรมสัมมนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

  • สำเนาหลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคารค่าสมนาคุณวิทยากรรายบุคคล (สามารถโอนเงินที่ธนาคารโดยแนบหลักฐานใบ pay in หรือโอนโดยผ่าน application ของธนาคาร ด้วยบัญชีชื่อผู้ยืมเงินทดรองราชการเท่านั้น)
  • ภาพการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (เห็นใบหน้าผู้เป็นวิทยากรและผู้เข้าร่วมการอบรม ถ้ามีวิทยากรหลายคนควรระบุชื่อประกอบภาพผู้เป็นวิทยากรในภาพแนบเบิกด้วย)
หมวดค่าใช้สอย

1. ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม

กิจกรรม/อัตรารายละเอียด
1. ค่าอาหาร จัดภายในมหาวิทยาลัย 150  บาท/คน/มื้อจัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในหน่วยงานราชการ) 150 บาท/คน/มื้อจัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในสถานที่เอกชน เช่น โรงแรม) 250 บาท/คน/มื้อ
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จัดภายในมหาวิทยาลัย 30 บาท/คน/มื้อจัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในหน่วยงานราชการ) 30 บาท/คน/มื้อจัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในสถานที่เอกชน เช่น โรงแรม) 50 บาท/คน/มื้อ
ข้อควรระวังเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
ถ้าจัดพักในโรงแรมค่าอาหารเช้าจะต้องคิดรวมอยู่ในค่าห้องของทางโรงแรม ดังนั้นจึงเบิกค่าอาหารเช้าไม่ได้กรณีที่มีการเดินทางไปยังสถานที่จัดกิจกรรม เมื่ออยู่ระหว่างเดินทาง คือยังไม่มีการเริ่มกิจกรรมการอบรมสัมมนาจะไม่สามารถเบิกค่าอาหารมื้อก่อนหน้าที่จะมีการทำกิจกรรมได้ เช่น เดินทางไปถึงสถานที่จัดกิจกรรมเวลา 11.30 น. ใกล้เวลาอาหารกลางวัน แต่กิจกรรมจะเริ่มในเวลา 13.00 น. ดังนั้นก่อนหน้าเวลา 13.00 น. คือเวลาเริ่มทำกิจกรรมจริง จะไม่สามารถเบิกค่าอาหารและอาหารว่างได้อาหารเย็นจัดได้ในกรณีที่มีกิจกรรมการอบรมสัมมนาที่มีกิจกรรมในช่วงบ่ายไปจนถึงระยะเวลาอาหารเย็น หรือเลยกว่านั้นกิจกรรมในช่วงค่ำไม่สามารถเบิกค่าอาหารและอาหารว่างได้(ฉบับจริง) ใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ(ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงินค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม หรือ บิลเงินสด (กรณีบิลเงินสดต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับเงิน)(สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ(สำเนา) สัญญาการยืมเงิน (กรณีที่ยืมเงินทดรองราชการ) พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ

2. ค่าที่พัก

ประเภทอัตราการเบิกจ่าย
บุคคลากรของมหาวิทยาลัย และบุคลากรของรัฐ หมายถึง บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และบุคลากรของรัฐทุกสังกัด ทั้งที่เป็นข้าราชการและพนักงานไม่เกิน 750 ต่อคน/ต่อคืนจัดพักแยกชายหญิง จำนวน 2 คนต่อห้อง
บุคคลภายนอก และนักศึกษาหมายถึง บุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช่ข้าราชการและพนักงานของรัฐ รวมทั้งนักศึกษาถือเป็นบุคคลภายนอกไม่เกิน 500 ต่อคน/ต่อคืนจัดพักแยกชายหญิง จำนวน 2 คนต่อห้อง
เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
กรณีที่เป็นกิจกรรมที่มีนักศึกษาเดินทางไปด้วยหนังสือขออนุญาตผู้ปกครอง (นักศึกษา) โดยฉีกส่วนท้ายของหนังสือเป็นแบบตอบรับอนุญาตให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะต้องใช้เอกสารส่วนนี้แนบเพื่อขออนุมัติใช้รถยนต์อีกด้วย (เรียงตามลำดับให้ตรงกับใบรายชื่อแนบท้ายบันทึกข้อความขออนุมัติไปราชการ)แบบขออนุญาตไม่เกิน 7 วัน (นักศึกษา)(ฉบับจริง) ใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ(ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงินค่าที่พัก(ฉบับจริง) ใบรายงานการเข้าพัก Folio(ฉบับจริง) รายงานการเดินทางไปราชการ แบบ8708(สำเนา) บันทึกข้อความขออนุมัติไปราชการ แนบใบรายชื่อผู้เดินทางไปราชการ หนังสือขออนุญาตผู้ปกครอง (นักศึกษา) แบบขออนุญาตไม่เกิน 7 วัน (นักศึกษา) โดยรายชื่อผู้ที่เดินทางกับรายชื่อในใบรายงานการเข้าพัก Folio ต้องตรงกัน(สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ(ถ้ามี) บันทึกข้อความขออนุมัติพักเกินอัตรา กรณีที่พักคนเดียวแต่จ่ายเพิ่ม(สำเนา) สัญญาการยืมเงิน (กรณีที่ยืมเงินทดรองราชการ) พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ

3. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (ไปราชการ) และ ค่าทางด่วน กรณีขอรถของมหาวิทยาลัย

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
ใบขออนุมัติใช้รถยนต์ แนบคำสั่งเดินทางไปราชการ และใบขออนุญาตผู้ปกครอง รายชื่อผู้เดินทางไปราชการดำเนินการขออนุมัติการใช้รถยนต์ของมหาวิทยาลัยในระบบของมหาวิทยาลัย(ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมัน(สำเนา) บันทึกข้อความขออนุมัติไปราชการ(สำเนา) ใบขออนุมัติใช้รถยนต์(ฉบับจริง) รายชื่อ ผู้เดินทางไปราชการ รายชื่อพนักงานขับรถ(ฉบับจริง) ใบเสร็จค่าทางด่วน (ค่าผ่านทางพิเศษ)(สำเนา) สัญญาการยืมเงิน (กรณีที่ยืมเงินทดรองราชการ) เอกสารที่เป็นสำเนาทุกฉบับทุกหน้าให้รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ(สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการเอกสารขออนุมัติเดินทางไปราชการ

4. ค่าเช่าสถานที่จัดฝึกอบรม และค่าจ้างตกแต่งสถานที่

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
กรณีที่จะยืมเงินค่าเช่า ฎีกาขออนุญาตเช่าสถานที่ ยื่นพร้อมกับการยืมเงิน ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว และทำจัดซื้อจัดจ้าง(สำเนา) สัญญาใบยืมเงินทดรองราชการ (กรณีที่ยืมเงินทดรองราชการ) เอกสารที่เป็นสำเนาทุกฉบับทุกหน้าให้รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ(ฉบับจริง) หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย(ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบส่งมอบงาน(สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับโดยผู้ยืมเงินทดรองราชการ

5. ค่าเช่ารถ (รวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
กรณีที่จะยืมเงินค่าเช่า ฎีกาขออนุญาตเช่าเช่ารถโดยสาร ยื่นพร้อมกับการยืมเงิน ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว และทำจัดซื้อจัดจ้าง(ฉบับจริง) ใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้(ฉบับจริง) สัญญาเช่ารถโดยสาร (ติดอากรแสตมป์ 1,000 ละ 1 บาท ของราคาค่าเช่า)(ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบส่งมอบงาน(ฉบับจริง) หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย(สำเนา) ใบอนุญาตขับขี่ พรบ. เอกสารการต่อทะเบียนรถยนต์(สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับ

6. ค่าจ้างวิเคราะห์และสรุปข้อมูล

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
เอกสารการกำหนดคุณลักษณะ(ฉบับจริง) ใบส่งของ/บิลเงินสด(สำเนา) บัตรประชาชนผู้รับจ้าง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง(สำเนา) บัญชีธนาคาร พร้อมรับรองบัญชีความเคลื่อนไหวในระยะเวลา 6 เดือน(ฉบับจริง) แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ(สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าทุกฉบับ
หมวดค่าวัสดุ

ค่าวัสดุ หมายถึง สิ่งของที่จัดเป็นวัสดุแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1) วัสดุคงทน ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะคงทนแต่ตามปกติมีอายุการใช้งานไม่ยืนนาน หรือเมื่อนำไปใช้งานแล้วเกิดความชำรุดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม หรือ ซ่อมแล้วไม่คุ้มค่า
2) วัสดุสิ้นเปลือง ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้วหมดไป
3) วัสดุอุปกรณ์ประกอบและอะไหล่ ได้แก่สิ่งของที่ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบหรืออะไหล่สำหรับ การซ่อมแซมบำรุงรักษา

ประเภทและอัตราการเบิกจ่าย

รายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อจัดซื้อจัดหา หรือจ้างทำของเพื่อให้ได้มาซึ่งของใช้สิ้นเปลือง ไม่คงทนถาวรหรือสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรแต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน

เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
(ฉบับจริง) ใบเสนอราคา(ฉบับจริง) แบบกำหนดคุณลักษณะโดยผู้ใช้วัสดุ เสนอโดยเจ้าหน้าที่พัสดุของหน่วยงานบันทึกข้อความขออนุมัติและได้รับอนุมัติโดยผู้มีอำนาจลงนาม และแนบเอกสารโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการของโครงการ(ฉบับจริง) ใบเสนอราคา(ฉบับจริง) แบบกำหนดคุณลักษณะ เสนอโดยเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับคำสั่งแต่งตั้ง(ฉบับจริง) ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน(สำเนา) บันทึกข้อความอนุมัติดำเนินงานโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว พร้อมกำหนดการโครงการ(ฉบับจริง) แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online และแนบสำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

กฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์