หมวดค่าวัสดุ

ค่าวัสดุ หมายถึง สิ่งของที่จัดเป็นวัสดุแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) วัสดุคงทน ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะคงทนแต่ตามปกติมีอายุการใช้งานไม่ยืนนาน หรือเมื่อนำไปใช้งานแล้วเกิดความชำรุดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม หรือ ซ่อมแล้วไม่คุ้มค่า 2) วัสดุสิ้นเปลือง ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้วหมดไป 3) วัสดุอุปกรณ์ประกอบและอะไหล่ ได้แก่สิ่งของที่ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบหรืออะไหล่สำหรับ การซ่อมแซมบำรุงรักษา     ประเภทและอัตราการเบิกจ่าย รายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อจัดซื้อจัดหา หรือจ้างทำของเพื่อให้ได้มาซึ่งของใช้สิ้นเปลือง ไม่คงทนถาวร หรือสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรแต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน   เอกสารที่ต้องขออนุมัติก่อนการดำเนินการ เอกสารประกอบการเบิกจ่าย (ฉบับจริง) ใบเสนอราคา (ฉบับจริง) แบบกำหนดคุณลักษณะโดยผู้ใช้วัสดุ เสนอโดยเจ้าหน้าที่พัสดุของหน่วยงาน อ่านต่อ

หมวดค่าใช้สอย

1. ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม กิจกรรม/อัตรา รายละเอียด 1. ค่าอาหาร   จัดภายในมหาวิทยาลัย 150  บาท/คน/มื้อ จัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในหน่วยงานราชการ) 150 บาท/คน/มื้อ จัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในสถานที่เอกชน เช่น โรงแรม) 250 บาท/คน/มื้อ 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม   จัดภายในมหาวิทยาลัย 30 บาท/คน/มื้อ จัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในหน่วยงานราชการ) 30 บาท/คน/มื้อ จัดภายนอกมหาวิทยาลัย (จัดในสถานที่เอกชน เช่น โรงแรม) 50 บาท/คน/มื้อ   ข้อควรระวัง เอกสารประกอบการเบิกจ่าย อ่านต่อ

หมวดค่าตอบแทน

  กิจกรรม   รายละเอียด 1. ลักษณะกิจกรรม   การบรรยาย เบิกวิทยากร 1 คน การอภิปราย/สัมมนาเป็นคณะ วิทยากรไม่เกิน 5 คน (ใน 5 คน จะนับรวมผู้ทำหน้าที่ดำเนินการ เช่น ผู้นำสัมมนา ผู้นำเสวนา เป็น 1 ในจำนวนวิทยากรด้วย ทั้งนี้ไม่นับรวมพิธีกร) การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ วิทยากรกลุ่มละไม่เกิน 2 คน ไม่ได้จำกัดจำนวนกลุ่ม (ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของจำนวนผู้เข้าอบรม) 2. อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร   บุคลากรของรัฐ ไม่เกินชั่วโมงละ 600 บาท/ชั่วโมง (โปรดดูเชิงอรรถด้านล่าง) อ่านต่อ

การจำแนกหมวดรายจ่ายสำหรับดำเนินกิจกรรมโครงการ

โครงการงบยุทธศาสตร์ที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ จัดเป็นงบดำเนินงาน ซึ่งหมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่าย ที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว โดยในที่นี้จะกล่าวเฉพาะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการงบยุทธศาสตร์เท่านั้น (รายละเอียดรายการอื่นๆ ผู้สนใจสามารถดูได้จาก หลักเกณฑ์ และอัตราค่าใช้จ่ายประกอบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงบประมาณ)   หมวดค่าใช้จ่าย ความหมาย ตัวอย่าง ค่าตอบแทน เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานให้ทางราชการตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ค่าตอบแทนหรือสมมนาคุณวิทยากร ค่าตอบแทนนักศึกษาที่ช่วยปฏิบัติราการ ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (อาจารย์และเจ้าหน้าที่) ค่าใช้สอย รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ การรับรอง และงานพิธีการ หรือการจัด งานต่างๆ ค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ได้แก่ ค่าเบี้ยเลี้ยง อ่านต่อ

ข้อควรระวังสำคัญ

ระยะเวลาการขออนุมัติโครงการ : ควรเผื่อระยะเวลาการดำเนินการทางเอกสาร และคำนึงถึงวันหยุดต่างๆ โดยควรเสนออนุมัติก่อนถึงวันกำหนดดำเนินโครงการไว้เนิ่นๆ การขออนุญาตดำเนินโครงการที่กระชั้นชิดเกินไปอาจทำให้ไม่สามารถดำเนินการโครงการได้ตามที่กำหนด ดังนั้นทุกการขออนุมัติ ควรสำรองเวลาสำหรับการเดินทางของเอกสารตามลำดับ ตลอดจนวันหยุดต่างๆ จึงควรวางแผนงานและสำรองเวลาไว้อย่างน้อย 3 สัปดาห์ ขั้นตอนอื่นๆ เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ : การเผื่อเวลาในการดำเนินการเอกสารมีความสำคัญ เพราะเมื่ออนุมัติโครงการแล้วผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องนำมาแนบสำหรับ 1. การขอนุมัติใช้รถยนต์ (ถ้ามี) 2. การขออนุญาตผู้ปกครอง (กรณีมีนักศึกษาร่วมโครงการ) อาจารย์ที่ลงปฏิบัติงานในพื้นที่ : ถ้าในวันนั้นมีตารางสอนจะต้องยื่นเรื่องขอสอนชดเชยและได้รับอนุมัติจากรองอธิการบดีวิชาการไว้ก่อน ซึ่งหากมีการขอเบิกค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานโครงการจะต้องแนบตารางสอนพร้อมทั้งเอกสารการขอสอนชดเชย กรณีที่ชั่วโมงมีสอน การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะ : จะต้องทำคำสั่งเดินทางไปราชการ และได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะได้ การใช้รถยนต์ส่วนตัว : จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการ (อธิการบดี หรือรองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมาย) และจะต้องได้รับอนุมัติก่อนการเดินทาง อ่านต่อ

การขอยืมเงินทดรองราชการ

การขอยืมเงินทดรองราชการ : แนบโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้วและแบบฟอร์มขอยืมเงินทดรองราชการอย่างน้อย 3 วันทำการ ทั้งนี้ควรนับ 3 วันทำการเมื่อเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้วจากหน่วยงานและเดินทางไปถึงยังหน่วยงานคลัง หน่วยงานคลังจ่ายเช็คเงินยืมในวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์

การขออนุมัติดำเนินโครงการ

การขออนุมัติโครงการใช้แบบฟอร์มเสนอโครงการของมหาวิทยาลัย (ภาคผนวก) พร้อมบันทึกข้อความเสนออนุมัติตามลำดับ ผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการ พิจารณาจากวงเงิน ดังนี้ – ขออนุมัติงบประมาณไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท) คณบดีเป็นผู้ลงนามอนุมัติ – ขออนุมัติงบประมาณมากกว่า 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท) เสนอต่อรองอธิการบดีเป็นผู้อนุมัติ

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ระบุว่าให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชนมีส่วนร่วมในการจัดการการบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู และมาตรา 8 ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 ดังต่อไปนี้ (1) แสวงหาความจริงเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล (2) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การผลิตบัณฑิตดังกล่าวจะต้องให้มีจำนวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิต บัณฑิตของประเทศ (3) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่าความสำนึกและความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ (4) เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและนักการเมือง ท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตยคุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม อ่านต่อ